ซ่อมปั๊มลม ซ่อมปั๊มลม ซ่อมปั๊มลม
รับซ่อมปั๊มลมลูกสูบทุกยี่ห้อราคาประหยัด ปั๊มลมซันว่า ปั๊มลมพูม่า ปั๊มลมสวอน ปั๊มลมไทเกอร์ ปั๊มลมฟูเช็ง ปั๊มลมเซ็นทรัล ปั๊มลมโอกุระ ปั๊มลมเกทเท็ค ปั๊มลมฮิตาชิ ปั๊มลมไลโน่


 
  หน้าแรก
 
  สินค้า  
  - ปั้มลม  
  - อะไหล่ปั๊มลม  
  - ปั้มน้ำ  
  - ปั๊มหอยโข่ง
- ปั๊มจุ่ม
 
  - ถังฉีดโฟม  
  - ถังเติมลม  
  - ถังพักลม-น้ำ  
  แผนที่  
  รับซ่อมปั๊มลม  
  วิธีการชำระเงิน  
  ติดต่อเรา  
บริการซ่อมปั๊มลม
ปั๊มลมซันว่า ปั๊มลมพูม่า ปั๊มลมSwan ปั๊มลมFuSheng

ช่งซ่อมปั๊มลมชำนาญงาน
รับซ่อมปั๊มลมลูกสูบทุกยี่ห้อ 

รับซ่อมปั๊มลมทุกยี่ห้อ มีอะไหล่แท้ อะไหล่เทียบ จำหน่าย ซ่อมโดยชั่งผู้ชำนาญการ เสนอราคาก่อนซ่อม งานซ่อมคุณภาพ
ราคาถูกราคาประหยัด
Sunwa Puma Swan Fu Sheng Fuji Maji Samba Tiger อื่นฯ
 

ดูผลงานที่ผ่านมาตามลิงค์เฟสบุ๊ค
https://www.facebook.com/jnkpowertools/
 

ติดตามทาง Youtube ได้ที่ลิงค์นี้เลยครับ

https://www.youtube.com/channel/UCSmkV6x4FFTIRAHDsfj8QoA
 


 

 

 

 
 

 

 

อะไหล่ปั๊มลม FUJIปั๊มลมซ่อมปั๊มลมซ่อม 1ซ่อมปั๊มลมฮิตาชิซ่อมปั๊มลมซ่อม Pumaซ่อมปั๊มลมซ่อม FSซ่อมปั๊มลมSunwaซ่อมปั๊มลม Swan 10 HPซ่อมปั๊มลม Puma 1 HPซ่อมปั๊มลม Puma 1 HPซ่อมปั๊มลม Puma 1 HP 92 ลิตรซ่อมปั๊มลม Capitalงานซ่อมหัวปั๊ม 15 HP
หัวปั๊มซ่อม BEFOREหัวปั๊มซ่อม AFTER
งานซ่อมหัวปั๊มลม Puma 5 HP หัวปั๊มลม

 


รับวางระบบเดินท่อลมภายในอาคาร โรงงาน อื่นฯ ราคาถูก
 

อาการเสียที่พบบ่อยในปั๊มลมลูกสูบ
เครื่องปั๊มลมเดินแรงดี แต่ลมออกเบา เพรสเชอร์ต่ำ
อุณหภูมิน้ำมันปั๊มลมสูง เครื่องปั๊มลมร้อนจัด ท่อลมร้อนจัด จับไม่ได้
ไฟเข้าแต่กดไม่สตาร์ท หรือเช้าสตาร์ทได้ บ่ายสตาร์ทไม่ได้ พอเช้าสตาร์ทได้อีก
เครื่อง Load / unload บ่อย Load แป๊บเดียว ก็ Unload สลับไปมาๆ
น้ำมันรั่ว น้ำมันซึม ตามหัวสกรู ถัง พื้นเครื่อง ผนังเครื่อง ตู้คอนโทรล ฯลฯ
กินไฟมาก กระแสไหลผิดปกติ สายเมนร้อน ขั้วสายละ
ลาย
เครื่องปั๊มลมสั่น หรือปั๊มลมเสียงดังผิดปกติ
ปั๊มลมร้อนแล้วตัด เครื่องปั๊มลมเดินสักครู่ก็ตัด พอเครื่องปั๊มลมเย็นก็เดินได้อีก
สตาร์ทแป็บเดียวแล้วตัด เครื่องเดิน 2-3 นาทีก็หยุด
เครื่องไม่ยอม Load หรือ Unload ค้าง
น้ำมันปั๊มลมปนออกกับลมมาก กินน้ำมัน น้ำมันแห้งบ่อย
ความจริงปั๊มลมในโลกนี้มีกี่ยี่ห้อ มันก็คือ ระบบกลไก+ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิค (machanical + control) ขอเพียงรู้วิธีการทำงานของมัน รู้แหล่งอะไหล่ มีความละเอียดปราณีต (ความเป็นช่าง) มีประสบการณ์ เท่านี้ก็สามารถ ซ่อมปั๊มลมได้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นปั๊มลม ยี่ห้อไหนๆ แต่ต้องรู้จริงนะครับ มิฉะนั้นจะทำให้เกิดความเสียหายยิ่งขึ้น หลายๆกรณี ลูกค้าซ่อมเอง หรือให้ช่างซ่อมรถยนต์มาซ่อมให้ โดยขาดความเข้าใจที่ถูกต้อง ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ เช่น

ปัญหาที่พบ สาเหตุที่พบในการซ่อมปั๊มลม
ลูกค้าเปลี่ยนมอเตอร์ปั๊มลมลูกสูบ แล้วลมเบาลง ใช้มอเตอร์รอบต่ำ แล้วไม่ชดเชยพูลเล่ ให้ได้รอบเท่าเดิม
ลูกค้าเปลี่ยนสปริงวาล์วปั๊มลม แต่วาล์วเสียบ่อยมาก ใช้สปริงธรรมดา ทนความร้อนต่ำ เมื่อความร้อนสูงๆ สปริงล้าและปิดวาล์วไม่สนิท
ลูกค้าถอดสกรู เพื่อเปลี่ยนลูกปืน พอประกอบแล้วลมไม่ออก ถอดเข้าถอดออกจนท้อ ประกอบไม่ถูก ลูกปืนลุนมีสองด้าน ด้านหน้า-ด้านหลัง ไม่เหมือนกัน กลับด้านไม่ได้ เพราะเวลาสกรูทำงานจะเกิดแรงดันตัวเองไปอีกด้านหนึ่ง ลูกปืนลุนจะทำหน้าที่ดันฝืนสกรูไว้ให้อยู่ตำแหน่งเดิม
ลูกค้าปรับแรงดันลมเอง แล้วน้ำมันรั่วออกกับลม พอปรับต่ำลงน้ำมันก็ยังรั่วอยู่ ใช้แรงดันเกิน spec ของกรอง จนกรองฉีกทะลุ ไม่สามารถดักน้ำมันได้ น้ำมันจึงรั่วตลอดเวลา
ลูกค้าเจียร์ฝาสกรู เสื้อสกรู พอประกอบแล้วสกรูติด หมุนไม่ได้เลย เจียร์เสื้อสูบสั้นกว่าสกรู พอขันฝาปิดไปบีบสกรู สกรูจึงติดแน่น
ลูกค้าเปลี่ยนสายพานปั๊มลม แล้วขาดบ่อยมาก อาทิตย์ละเส้น ตั้งสายพานตึงเกินไป หากสายพานไม่ขาดจะทำให้มอเตอร์ร้อน หรือลูกปืนแตกได้
ลูกค้าถ่ายน้ำมันแล้วปั๊มลมร้อนกว่าเดิม ใช้น้ำมันผิดเบอร์ เช่น เอาน้ำมันปั๊มลมลูกสูบ ไปใส่ปั๊มลมสกรู บางรายใช้น้ำมันเครื่องรถยนต์ หรือน้ำมันไฮดรอลิก ซึ่งความหนืดและการทนความร้อนไม่เท่ากัน
ลูกค้าถ่ายน้ำมันแล้วปั๊มลม น้ำมันรั่วออกมากับลมเยอะมาก เติมน้ำมันเกินระดับ มากก็ไม่ได้ น้อยก็ไม่ได้ ต้องระวัง
ลูกค้าซ่อมสกรู พอประกอบเสร็จ ใช้งานได้แต่ น้ำมันรั่วออกมากับลมเยอะมาก ไม่ได้ต่อท่อดูดน้ำมัน ออกจากกรอง เมื่อน้ำมันสะสมในกรองเยอะไม่ได้ถูกดูดออก จึงปะปนไปกับลม
ลูกค้าเปลี่ยนกรองน้ำมันแล้ว เครื่องร้อน ใช้กรองผิด spec ต้องดูอัตตราการไหลของกรอง และขนาดความละเอียดของกรองให้ดี บางครั้งใช้กรองละเอียดเกินไป ทำให้น้ำมันอั้น ไหลช้า การระบายความร้อนจึงไม่ดี
ฯลฯ
 

นอกจากนี้ยังพบปัญหาจากการที่ ไม่ดูแล ละเลยการรักษาเครื่อง ทั้งๆที่ข้างเครื่องจะบอกวิธีการ บำรุงรักษา จึงทำให้เกิดปัญหาต่างๆ เช่น

ไม่ทำความสะอาดรังผึ้ง และพัดลม cooler เครื่องร้อน น้ำมันร้อน ท่อลมร้อน
น้ำมันเครื่องขาด แห้ง เครื่องร้อน สูบติด ลูกปื้นแตก ข้อเหวี่ยงหัก
ไม่เปลี่ยนกรองน้ำมัน เครื่องร้อน น้ำมันร้อน ท่อลมร้อน
ไม่ถ่ายน้ำในถังลม เครื่องตัดต่อบ่อย ลมเบา ถังเป็นสนิม
ไม่ทำความสะอาดภายในเครื่อง คราบสกปรกสะสมหนา ระบบไฟฟ้ารวน ลัดวงจรหรือไม่ทำงาน
ไม่ทำความสะอาดกรองอากาศ ลมเบา วาล์วสกปรก ลูกสูบสกปรก
ไม่ทำความสะอาด auto drain น้ำในระบบมาก สนิมในท่อ
ท่อรั่วซึม เครื่องตัดต่อบ่อย เดินตลอด เปลืองไฟฟ้า
ไม่ตรวจความผิดปกติ เช่น เสียง ความร้อน ฯลฯ ความเสียหายมักลุกลามปานปลาย ฯลฯ
 

วิธีการซ่อมบำรุงระบบลม และปั๊มลม

1.วิธีการดูแลรักษาเครื่องอัดลมแบบลูกสูบ SWAN ,PUMA ,FUSHENG,SUNWA,HITACHI ,IWATA
-เปิดวาร์วเดรนน้ำใต้ถัง*
-สังเกตออโต้เดรนใต้ถัง ว่าทำงานปกติหรือไม่*
-สังเกตแรงดันตัด-ต่อ ปกติตามที่ตั้งไว้หรือไม่
-สังเกตระดับน้ำมันอยู่กึ่งกลางของช่องมองน้ำมันหรือไม่*
-ตรวจสภาพเครื่องโดยทั่วไปว่ามีน้ำมันซึมหรือไม่* ทุกเดือน -ขันสายไฟให้แน่น*
-ตรวจเช็คแรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าตามสเปคหรือไม่*
-เป่ากรองอากาศ* ทุกปี
-เปลี่ยนกรองอากาศ*
-เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องอัดลม* เพื่อให้เครื่องอัดลมแบบลูกสูบทำงานได้อย่างยาวนาน ควรเตรียมกรองอากาศไว้ 1 ชุด , น้ำมันเครื่องปั๊มลม 1 แกลลอน , โซลินอยด์วาร์ว , เพรสเชอร์สวิตซ์ , เพรสเชอร์เกจ ถ้ามีปัญหาจะได้เปลี่ยนได้ทันที
ถ้าใช้ลม 0.75 คิวต่อนาที ควรใช้เครื่องอัดลมลูกสูบ 10 แรงม้า
ถ้าใช้ลม 1 คิวต่อนาที ควรใช้เครื่องอัดลมลูกสูบ 15 แรงม้า
ถ้าใช้ลม 1.5 คิวต่อนาที ควรใช้เครื่องอัดลมลูกสูบ 20 แรงม้า
เครื่องอัดลมแบบลูกสูบ จะทำงานได้ดี ต้องอัดบ้าง หยุดบ้าง อย่าอัดตลอดเวลาจะพังง่าย

2.วิธีการดูแลรักษา  เมนไลน์ฟิลเตอร์
-สังเกตเมนไลน์ฟิลเตอร์มีรั่วหรือไม่
-สังเกตออโต้เดรนของเมนไลน์ฟิลเตอร์ มีค้างหรือไม่*
-สังเกตเพรสเชอร์ดรอปของเมนไลน์ฟิลเตอร์อย่าให้สูงเกินไป
-เปลี่ยนเมนไลน์ฟิลเตอร์และโอริงปีละครั้ง*
-ถอดเฮ้าซิ่งออกมาทำความสะอาดล้างคราบน้ำ คราบน้ำมัน หรือสนิมออกให้หมด ทาจารบีเพื่อให้ครั้งหน้าถอดเฮ้าซิ่งได้ง่าย*
-เปลี่ยนดิ๊ฟเกจ กรณีดิ๊ฟเกจค้าง
เพื่อให้เมนไลน์ฟิลเตอร์ทำงานได้อย่างยาวนาน ควรเตรียมออโต้เดรนไว้ 1 ชุด , ฟิลเตอร์อิลิเม้นท์เกรด 1 ไมครอน 1 ชุด , ฟิลเตอร์อิลิเม้นท์เกรด 0.01 ไมครอน 1 ชุด , โอริง , ดิ๊ฟเกจ ถ้ามีปัญหาจะได้เปลี่ยนได้ทันที

3.วิธีการดูแลรักษาถังลม
-สังเกตเกจวัดแรงดัน ปกติหรือไม่
-สังเกตออโต้เดรน เดรนปกติหรือไม่*
-สังเกตข้อต่อมีรั่วหรือไม่
-สังเกตแมนโฮลมีรั่วหรือไม่*
-เปิดวาร์วแมนน่วล เพื่อเช็คน้ำในถังลมว่ามีหรือไม่*
-ล้างสเตรนเนอร์ใต้ถัง*
-ล้างออโต้เดรนลูกลอยใต้ถังลม*
-ทดสอบTESTถังประมาณ 3 ปี/ครั้ง โดยทั่วไป TEST ที่ 15 บาร์
-เปลี่ยนปะเก็นที่แมนโฮล
-เปิดถัง ตรวจสอบว่าเป็นสนิมมากน้อยแค่ใหน
เพื่อให้ถังลมทำงานได้อย่างยาวนาน ควรเตรียมปะเก็นแมนโฮลไว้ 1 ชุด , เพรสเชอร์เกจ 1 ชุด , เซฟตี้วาร์ว 1 ชุด , ออโต้เดรนใต้ถัง ถ้ามีปัญหาจะได้เปลี่ยนได้ทันที

4.วิธีการดูแลรักษาท่อลม
-สังเกตข้อต่อในห้องปั๊มลมว่ามีรั่วหรือไม่*
-สังเกตข้อต่อในไลน์การผลิตว่ามีรั่วหรือไม่*
-สังเกตลูปท่อเมนที่อยู่ด้านบนว่ามีรั่วหรือไม่* -ทาสีท่อลมใหม่
-เปลี่ยนยางยูเนี่ยน หรือปะเก็นหน้าจานใหม่
-น่าจะมีการเปลี่ยนท่อลมใหม่ เมื่อท่อลมใช้งานไปประมาณ 10 ปี
เพื่อให้ท่อลมไม่รั่ว ควรเตรียมปะเก็นหน้าจาน ยางยูเนี่ยนหรือปะเก็นยูเนี่ยน เทปพันเกลียว เปอร์มาเท็กซ์ สายสิญจน์ไว้ 1 ชุด ถ้าพบท่อลมรั่วแล้วมีวาร์วบล๊อคจะได้แก้ไขได้ทันที

ข้อใดที่มาร์ค * ไว้แปลว่าสำคัญต้องทำ ถ้าไม่ทำ เครื่องอัดลม เครื่องทำลมแห้งของท่านจะเกิดปัญหาแน่นอน


ตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ
รับซ่อมปั๊มลม บริการรับซ่อมปั๊มลม

 
ปั๊มลมซันว่า